แผนความต่อเนื่องด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
กองบริการกลาง สำนักงานวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
(Business Continuity Plan (BCP))
บทนำ
แผนความต่อเนื่อง หรือที่ต่อไปนี้จะเรียกว่า “Business Continuity Plan (BCP)” ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้การดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กองบริการกลาง สำนักงานวิทยาเขต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร สามารถนำไปใช้ในการตอบสนองและปฏิบัติงานในสภาวะวิกฤติหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ไม่ว่าจะเกิดจากภัยธรรมชาติ อุบัติเหตุ หรือการมุ่งร้ายต่อองค์กร เช่น ไฟฟ้าดับต่อเนื่องยาวนาน อัคคีภัย วาตภัย การก่อการประท้วง อุทกภัย การก่อการจลาจล เป็นต้น โดยสภาวะวิกฤติหรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน ดังกล่าวส่งผล ให้หน่วยงาน ต้องหยุดการดำเนินงาน หรือไม่สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง
หากงานเทคโนโลยีสารสนเทศ กองบริการกลาง สำนักงานวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ไม่มีกระบวนการรองรับการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อหน่วยงานภายใน วิทยาเขตฯ ในด้านต่างๆ เช่น การให้บริการ การติดต่อสื่อสาร สังคม ชุมชน ตลอดจนชีวิตของนิสิต บุคลากรและทรัพย์สินของทางราชการ แผนความต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ กองบริการกลาง สำนักงานวิทยาเขตฯ สามารถรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ไม่คาดคิด และทำให้กระบวนการที่สำคัญ (Critical Business Process) สามารถกลับมาดำเนินการได้อย่างปกติหรือตามระดับการให้บริการที่กำหนดได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้สามารถลดระดับความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อวิทยาเขตฯในอันดับถัดไป
วัตถุประสงค์ (Objectives)
- เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารความต่อเนื่อง
- เพื่อให้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ กองบริการกลาง สำนักงานวิทยาเขตฯมีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าในการรับมือกับ สภาวะวิกฤติหรือ เหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
- เพื่อลดผลกระทบจากการหยุดชะงักในการดำเนินงานหรือการให้บริการ
- เพื่อบรรเทาความเสียหายให้อยู่ระดับที่ยอมรับได้เช่น ผลกระทบด้านการให้บริการต่อนิสิต บุคลากร และผู้รับบริการอื่นๆ ตลอดจนทรัพย์สินของทางราชการ
- เพื่อให้นิสิต บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) มีความเชื่อมั่นใน ศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ร้ายแรงและ ส่งผลกระทบจนทำให้การดำเนินงานต้องหยุดชะงัก
สมมติฐานของแผนความต่อเนื่อง (BCP Assumptions)
เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นภายใต้สมมติฐาน ดังต่อไปนี้
- เหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญต่าง ๆ มีผลกระทบต่อสถานที่ปฏิบัติงานจริง แต่มิได้ส่งผลกระทบต่อสถานที่ปฏิบัติงานสำรองที่ได้มีการจัดเตรียมไว้
- งานเทคโนโลยีสารสนเทศ กองบริการกลาง สำนักงานวิทยาเขตฯ รับผิดชอบในการสำรองระบบสารสนเทศต่าง ๆ โดยระบบสารสนเทศสำรองนั้น มิได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ฉุกเฉิน เดียวกันกับระบบสารสนเทศหลัก โดยมี อุปกรณ์สำรองข้อมูล และมีการสำรองข้อมูลตามแผนงานปัจจุบัน
- “บุคลากร” ที่ถูกระบุในเอกสารฉบับนี้ หมายถึงพนักงานและเจ้าหน้าที่ทั้งหมดของ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ กองบริการกลาง สำนักงานวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
1.1 ขอบเขตของแผนความต่อเนื่อง (Scope of BCP)
แผนความต่อเนื่อง (BCP) ฉบับนี้ ใช้รองรับกรณีเกิดสภาวะวิกฤติหรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน บริเวณอาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ (อาคาร9) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นสถานที่ปฏิบัติงานหลัก ประกอบด้วยเหตุการณ์ต่อไปนี้
- เหตุการณ์ไฟฟ้าดับต่อเนื่องยาวนาน
- เหตุการณ์อัคคีภัย
- เหตุการณ์วาตภัย
- เหตุการณ์ชุมนุมประท้วง/ จลาจล
การวิเคราะห์ทรัพยากรที่สำคัญ
แผนความต่อเนื่องฉบับนี้ได้จัดทำขึ้น เพื่อให้สามารถรองรับกับการบริหารความต่อเนื่องของ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ กองบริการกลาง สำนักงานวิทยาเขตฯ ในหลากหลายรูปแบบของสภาวะวิกฤติหรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน โดยพิจารณาถึงผลกระทบต่อ ทรัพยากรที่สำคัญจึงเป็นสิ่งจำเป็น และต้องระบุไว้ในแผนความต่อเนื่อง ซึ่งการเตรียมการทรัพยากรที่สำคัญ จะพิจารณาจากผลกระทบใน 5 ด้าน ดังนี้
- ผลกระทบด้านอาคาร/สถานที่ปฏิบัติงานหลัก:
เมื่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานที่สถานที่ปฏิบัติงานหลักของงานเทคโนโลยีสารสนเทศ กองบริการกลาง สำนักงานวิทยาเขตฯ ซึ่งได้รับผลกระทบ หรือความเสียหาย และส่งผลให้บุคลากรไม่สามารถเข้าไปปฏิบัติงาน ยังสถานที่ปฏิบัติงานหลัก ได้เป็นระยะชั่วคราวหรือระยะยาว
- ผลกระทบด้านวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ/การจัดหาจัดส่งวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ:
เมื่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ไม่สามารถใช้งานวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ หรือไม่สามารถจัดหา จัดส่งวัสดุอุปกรณ์ ที่สำคัญได้หรือมีวัสดุอุปกรณ์ให้สามารถใช้งานในการปฏิบัติงานได้ตามปกติ
- ผลกระทบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ:
เมื่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ไม่สามารถใช้ระบบงานระบบสารสนเทศ หรือเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญ ในการปฏิบัติงานได้ตามปกติ
- ผลกระทบด้านบุคลากรหลัก:
เมื่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้บุคลากรหลักไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้ตามปกติ
- ผลกระทบด้านนิสิต/ ผู้ให้บริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ:
เมื่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้นิสิต/ผู้รับบริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่สามารถรับบริการได้
อ่านต่อ หรือ ดาวน์โหลดเอกสาร