หมวดที่ 4 การจัดการของเสีย
เกณฑ์การประเมิณ | หลักฐานการดำเนินงาน |
4.1 การจัดการของเสีย |
4.1.1 มีการดำเนินงานตามแนวทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัดขยะอย่างเหมาะสมมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ 1.มีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักงานและจัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่าง ๆอย่างเหมาะสมทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ 2.มีการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและชัดเจนทุกถังที่สุ่มตรวจสอบ 3.มีจุดพักขยะที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ โดยจะต้องมีพื้นที่รองรับขยะแต่ละเภทจากข้อ (1) อย่างเพียงพอ 4.มีการทิ้งขยะถูกต้องทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ 5.มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภทครบถ้วนทุกเดือนจนถึงเดือนที่ได้รับการตรวจประเมิน 6.มีการส่งขยะให้ อปท. หรือผู้รับจ้างที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย 7.มีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัดขยะของผู้รับจ้างให้มีการจัดการอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ (กรณีส่งให้ อปท.ให้ถือว่ามีการจัดการอย่างเหมาะสม) 8.ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสำนักงาน (ยกเว้นเตาเผาที่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้อง) |
1.บันทึกปริมาณขยะ อาคารบริหาร
2.บันทึกปริมาณขยะ อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ 3.โครงการบริหารจัดการขยะเพื่อสร้างรายได้ 4.คู่มือปฏิบัติงานการบริหารจัดการขยะ -คัดแยกขยะทุกจุด และรณรงค์การแยกขยะก่อนทิ้ง |
4.1.2 ร้อยละของปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ หมายเหตุ ร้อยละของปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ = (ปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ x 100)/ปริมาณขยะสะสมที่เกิดขึ้นทั้งหมด |
-นิสิตวิชาบูรณาการทำถังขยะทิ้งขวดพลาสติกด้วยขวดพลาสติกใช้แล้ว |
4.2 การจัดการน้ำเสีย |
4.2.1 การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และคุณภาพน้ำทิ้งจะต้องอยู่ในมาตรฐาน กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยมีแนวทาง ดังนี้ 1. การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย และจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล 2. มีการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เช่น มีการมีตะแกรงดักเศษอาหาร มีบ่อดักไขมัน 3. มีการบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย 4. มีผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด (หากมีพื้นที่ของอาคารน้อยกว่า 5,000 ตร.ม.จะไม่มีกฎหมายกำหนด) |
1.ผลตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ประเภทที่ 3 ผลิตน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคภายในวิทยาเขต |
4.2.2 การดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย โดยมีแนวทางดังนี้ 1. มีการตักและทำความสะอาดเศษอาหาร และไขมันออกจากตะแกรงดักขยะหรือบ่อดักไขมันตามความถี่ที่กำหนดอย่างเหมาะสมกับปริมาณและการปนเปื้อน 2. มีการนำเศษอาหาร น้ำมันและไขมันไปกำจัดอย่างถูกต้อง 3. มีการตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถใช้งานและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ 4. มีการตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสียอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำเสียไปยังแหล่งอื่น ๆ |
1.ตักทำความสะอาดถังดักไขมันทุกๆวันเสาร์ |