สามบูรพาจารย์

เกณฑ์การตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว

หมวดที่ 1 การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

เกณฑ์การประเมิน
1.1.3 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมจากผู้บริหารระดับสูง
1.1.4 มีการกำหนดแผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวประจำปี
1.1.5 มีการกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดที่ชัดเจนด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย และปริมาณก๊าซเรือนกระจก ดังนี้
(1) การใช้ไฟฟ้า
(2) การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
(3) การใช้น้ำ
(4) การใช้กระดาษ
(5) ปริมาณของเสีย
(6) การใช้ทรัพยากรอื่นๆ (หมึกพิมพ์ วัสดุ/อุปกรณ์สำนักงาน)
(7) ปริมาณก๊าซเรือนกระจก
1.2 คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม
1.2.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม
1.2.2 ร้อยละของคณะกรรมการ หรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่รับผิดชอบประเมินจากการสุ่มสอบถาม
1.3 การระบุประเด็นปัญหาทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
1.3.1 กิจกรรมทั้งหมดของสำนักงานภายใต้ขอบเขตการขอการรับรองสำนักงานสีเขียวจะต้องได้รับการระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม
1.3.2 การวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
1.4 กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.4.1 มีการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน
1.4.2 ประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน
1.5 ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก
1.5.1 การเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมในสำนักงาน จะต้องประกอบไปด้วย
1.5.2 ปริมาณก๊าซเรือนกระจกบรรลุเป้าหมายกรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
1.5.3 ร้อยละของพนักงานมีความเข้าใจและการรับรู้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงาน
1.6 แผนงานโครงการที่นำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
1.6.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และโครงการสิ่งแวดล้อม
1.6.2 ผลสำเร็จของวัตถุประสงค์และเป้าหมาย แนวทางการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
1.7 การตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน (สำหรับหน่วยงานที่ขอต่ออายุ)
1.7.1 การวางแผนและดำเนินการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน
1.8 การทบทวนฝ่ายบริหาร
1.8.1 การกำหนดองค์ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร
1.8.2 มีการกำหนดวาระการประชุม และทำการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร

หมวดที่ 2 การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก

เกณฑ์การประเมิน
2.1 การอบรมให้ความรู้และประเมินความเข้าใจ
2.1.1 กำหนดแผนการฝึกอบรม ดำเนินการอบรม การประเมินผล และบันทึกประวัติการฝึกอบรม
2.1.2 กำหนดผู้รับผิดชอบด้านการอบรมแต่ละหลักสูตรมีความเหมาะสม
2.2 การรณรงค์และประชาสัมพันธ์แก่พนักงาน
2.2.1 มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน
2.2.2 มีการรณรงค์สื่อสารและให้ความรู้ตามที่กำหนดในข้อ 2.2.1
2.2.3 ร้อยละความเข้าใจนโยบายสิ่งแวดล้อมและการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (สุ่มอย่างน้อย 4 คน) โดยจะต้องสอบถามพนักงานแต่ละคนอย่างน้อยตามข้อ 2.2.1(1)
2.2.4 มีช่องทางรับข้อเสนอแนะ และนำข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไข

หมวดที่ 3 การใช้ทรัพยากรและพลังงาน

เกณฑ์การประเมิณ
3.1 การใช้น้ำ
3.1.1 ร้อยละมาตรการใช้น้ำเหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
(1) สร้างความตระหนักในการใช้น้ำ
(2) การกำหนดเวลาใช้น้ำ
(3) การกำหนดรูปแบบการใช้น้ำ
(4) การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดน้ำ
3.1.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย การเก็บข้อมูล
กรณีบรรลุเป้าหมาย
(1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำแต่ละเดือน
(2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วย
(3) บรรลุเป้าหมาย
(4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
(1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำแต่ละเดือน
(2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วย
(3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข
หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วยเช่น เปรียบเทียบต่อจำนวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม หรือเปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น
3.1.3 ร้อยละของการปฏิบัติตามมาตรการประหยัดน้ำในพื้นที่ทำงาน
(ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)
3.2 การใช้พลังงาน
3.2.1 ร้อยละมาตรการใช้ไฟฟ้าเหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วย
รายละเอียดดังนี้
(1) การสร้างความตระหนักในการใช้ไฟฟ้า
(2) การกำหนดเวลาการใช้ไฟฟ้า
(3) การกำหนดรูปแบบการใช้ไฟฟ้า
(4) การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า
3.2.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย การเก็บข้อมูล
กรณีบรรลุเป้าหมาย
(1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน
(2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วย
(3) บรรลุเป้าหมาย
(4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องการเก็บข้อมูล
กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
(1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน
(2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วย
(3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข
หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วยเช่น เปรียบเทียบต่อจำนวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม หรือเปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น
3.2.3 ร้อยละของการปฏิบัติตามมาตรการประหยัดไฟฟ้าในพื้นที่ทำงาน
3.2.4 การจัดการและรณรงค์เพื่อการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทาง ดำเนินการดังนี้
(1) การสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
(2) การวางแผนการเดินทาง
(3) การซ่อมบำรุงดูแลยานพาหนะ
(4) การใช้จักรยานหรือขนส่งสาธารณะมาทำงาน
3.2.5 มีการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย การเก็บข้อมูล
กรณีบรรลุเป้าหมาย
(1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเแต่ละเดือน
(2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วย
(3) บรรลุเป้าหมาย
(4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องการเก็บข้อมูล
กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
(1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละเดือน
(2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วย
(3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข
หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจำนวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม หรือเปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น
3.3 การใช้ทรัพยากรอื่น ๆ
3.3.1 ร้อยละมาตรการใช้กระดาษเหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
(1) การสร้างความตระหนักในการใช้กระดาษ
(2) การกำหนดรูปแบบการใช้กระดาษ
(3) การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
(4) การนำกระดาษกลับมาใช้ใหม่
3.3.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้กระดาษต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
(1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษแต่ละเดือน
(2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษต่อหน่วย
(3) บรรลุเป้าหมาย
(4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
(1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษแต่ละเดือน
(2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษต่อหน่วย
(3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข
หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจำนวนพนักงานหรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม หรือเปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น
3.3.3 ร้อยละของการปฏิบัติตามมาตรการประหยัดกระดาษในพื้นที่ทำงาน
(ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)
3.3.4 ร้อยละมาตรการใช้ หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียนวัสดุอุปกรณ์เหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
(1) การสร้างความตระหนักในการใช้
(2) การกำหนดรูปแบบการใช้
(3) การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
3.3.5 ร้อยละของการดำเนินตามมาตรการประหยัดการใช้หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุอุปกรณ์สำนักงาน
(ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)
3.1 การประชุมและการจัดนิทรรศการ
3.4.1 ร้อยละของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการส่งข้อมูลเพื่อเตรียมการประชุม ได้แก่ QR code, Email, Social Network,Intranet เป็นต้น
3.4.2 การจัดการประชุมและนิทรรศการที่มีการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากร-พลังงาน และลดของเสียที่เกิดขึ้น จะต้องดำเนินการดังนี้
(1) การจัดเตรียมขนาดห้องประชุม เหมาะสมกับจำนวนผู้เข้าประชุม หรือจัดนิทรรศการ
(2) ห้องประชุมหรือพื้นที่จัดนิทรรศการไม่มีการตกแต่งด้วยวัสดุที่ย่อยสลายยาก หรือวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
(3) การกำหนดแนวทางเลือกสถานที่ภายนอกสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(4) การจัดเตรียมสื่อที่ใช้ในการประชุม โดยจะต้องลดการใช้กระดาษ หมึกพิมพ์
(5) การจัดเตรียมอาหาร และเครื่องดื่มเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

หมวดที่ 4 การจัดการของเสีย

เกณฑ์การประเมิณ
4.1 การจัดการของเสีย
4.1.1 มีการดำเนินงานตามแนวทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัดขยะอย่างเหมาะสมมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
1.มีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักงานและจัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่าง ๆอย่างเหมาะสมทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ
2.มีการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและชัดเจนทุกถังที่สุ่มตรวจสอบ
3.มีจุดพักขยะที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ โดยจะต้องมีพื้นที่รองรับขยะแต่ละเภทจากข้อ (1) อย่างเพียงพอ
4.มีการทิ้งขยะถูกต้องทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ
5.มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภทครบถ้วนทุกเดือนจนถึงเดือนที่ได้รับการตรวจประเมิน
6.มีการส่งขยะให้ อปท. หรือผู้รับจ้างที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
7.มีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัดขยะของผู้รับจ้างให้มีการจัดการอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ
(กรณีส่งให้ อปท.ให้ถือว่ามีการจัดการอย่างเหมาะสม)
8.ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสำนักงาน (ยกเว้นเตาเผาที่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้อง)
4.1.2 ร้อยละของปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่
หมายเหตุ ร้อยละของปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ = (ปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ x 100)/ปริมาณขยะสะสมที่เกิดขึ้นทั้งหมด
4.2 การจัดการน้ำเสีย
4.2.1 การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และคุณภาพน้ำทิ้งจะต้องอยู่ในมาตรฐาน
กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยมีแนวทาง ดังนี้
1. การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย และจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล
2. มีการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เช่น มีการมีตะแกรงดักเศษอาหาร มีบ่อดักไขมัน
3. มีการบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย
4. มีผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด
(หากมีพื้นที่ของอาคารน้อยกว่า 5,000 ตร.ม.จะไม่มีกฎหมายกำหนด)
4.2.2 การดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย โดยมีแนวทางดังนี้
1. มีการตักและทำความสะอาดเศษอาหาร และไขมันออกจากตะแกรงดักขยะหรือบ่อดักไขมันตามความถี่ที่กำหนดอย่างเหมาะสมกับปริมาณและการปนเปื้อน
2. มีการนำเศษอาหาร น้ำมันและไขมันไปกำจัดอย่างถูกต้อง
3. มีการตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถใช้งานและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
4. มีการตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสียอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำเสียไปยังแหล่งอื่น ๆ

หมวดที่ 5 สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย

เกณฑ์การประเมิน
5.1 อากาศในสำนักงาน
5.1.1 การควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงาน
1. มีแผนการดูแลรักษา ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์เอกสาร(Printer) เครื่องฟอกอากาศ ห้อง พื้นห้อง เพดาน ม่าน มูลี่ พรมปูพื้นห้องอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ (ขึ้นอยู่กับสำนักงาน)
2. มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบตามแผนการดูแลรักษา
3. มีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนด
4. จะต้องมีการควบคุมมลพิษทางอากาศอย่างครบถ้วน ดังนี้
-การดูแลรักษาในข้อ (1)
-การควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเวณสำนักงาน
-การปรับปรุง ก่อสร้างสำนักงาน (ถ้ามี)
-การป้องกันและกำจัดแมลงที่จะสร้างมลพิษอากาศภายในสำนักงาน (ถ้ามี)
(สามารถพิจารณาจากเอกสารหรือภาพถ่ายเป็นหลักฐานประกอบ)
หมายเหตุ กรณีข้อ (4) ต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออย่างหลายตามความเหมาะสมของแหล่งกำเนิดมลพิษ ดังนี้
-มีการสื่อสารหรือแจ้งให้ทราบถึงการเกิดมลพิษทางอากาศจากกิจกรรมต่าง ๆเพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย หรือ
-มีพื้นที่ทำงานสำรอง หรือ
-มีมาตรการลดการสัมผัสมลพิษทางอากาศอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามหลักวิชาการแก่พนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น กำหนดให้ปรับปรุงวันหยุด ควบคุมการปฏิบัติงานของผู้รับเหมาก่อนสร้าง เป็นต้น หรือ
-มีที่กั้นเพื่อกันมลพิษทางอากาศกระทบกับพนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
5.1.2 มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมีการกำหนดพื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสมและปฏิบัติตามที่กำหนด
1. มีการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่
2. มีการติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่
3. มีการติดสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่
4. เขตสูบบุหรี่จะต้องไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนที่อยู่บริเวณข้างเคียง ไม่อยู่ในบริเวณทางเข้า – ออกของสถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ และไม่อยู่ในบริเวณที่เปิดเผยอันเป็นที่เห็นได้ชัดแก่ผู้มาใช้สถานที่นั้น
5. ไม่พบการสูบบุหรี่ หรือก้นบุหรี่นอกเขตสูบบุหรี่
5.1.3 การจัดการมลพิษอากาศจากภายนอกสำนักงานที่ส่งผลต่อสำนักงาน
1. กำหนดมาตรการรอบรับเพื่อจัดการมลพิษทางอากาศที่มาจากภายนอกสำนักงาน
2. ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ(1) ถ้าพบว่ามีมลพิษทางอากาศที่มาจากภายนอกสำนักงาน
5.2 แสงในสำนักงาน
5.2.1 มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง (โดยอุปกรณ์การตรวจวัดความเข้มแสงที่ได้มาตรฐาน) และดำเนินการแก้ไขตามที่มาตรฐานกำหนด
1. มีการตรวจวัดความเข้มแสงประจำปี พร้อมแสดงหลักฐานผลการตรวจวัดแสงเฉพาะจุดทำงานแลพื้นที่ทำงาน
2. เครื่องวัดแสงจะต้องมีมาตรฐานและได้รับการสอบเทียบ (แสดงหลักฐานใบรับรอง)
3. ผลการตรวจวัดจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายกำหนด
4. ผู้ที่ตรวจวัดความเข้มแสงจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
5.3 เสียง
5.3.1 การควบคุมมลพิษทางเสียงภายในสำนักงาน
1. กำหนดมาตรการรอบรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน
2. ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ(1) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน
5.3.2 การจัดการเสียงดังจากภายนอกที่ส่งผลต่อสำนักงาน
1. กำหนดมาตรการรอบรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากภายนอกสำนักงาน
2. ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ(1) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายนอกสำนักงาน
5.4 ความน่าอยู่
5.4.1 มีการวางแผนจัดการความน่าอยู่ของสำนักงานโดยจะต้องดำเนินการดังนี้
1. จัดทำแผนผังของสำนักงานทั้งในตัวอาคารและนอกอาคาร โดยจะต้องกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจน เช่น พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่สีเขียว พื้นที่ส่วนรวม และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น สามารถสื่อสารด้วยป้ายหรืออื่น ๆที่เหมาะสมเพื่อบ่งชี้
2. มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่อย่างเหมาะสมทั้งพื้นที่เฉพาะและพื้นที่ทั่วไป
3. มีการกำหนดเวลาที่แน่นอนในการดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งพื้นที่เฉพาะ และพื้นที่ทั่วไป
4. การกำหนดแผนงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และคงรักษาไว้ของสำนักงาน รวมไปถึงมีการปฏิบัติจริงตามแผนงาน
5.4.2 ร้อยละการใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สำนักงานกำหนด
5.4.3 ร้อยละการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่าง ๆ เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ
พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น
5.4.4 มีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรคและดำเนินการได้ตามที่กำหนด
1. มีการกำหนดแนวทางการป้องกันสัตว์พาหะนำโรคในสำนักงานอย่างเหมาะสมได้แก่ นกพิราบ หนู แมลงสาบ และอื่น ๆ
2. มีการกำหนดความถี่ในการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรคอย่างน้อยที่สุดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
3. มีการตรวจสอบร่องรอยตามความถี่ที่ได้กำหนด (เฉพาะตอนกลางวัน)
4. มีแนวทางที่เหมาะสมกับการจัดการเมื่อพบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค
หมายเหตุ การควบคุมสัตว์พาหะนำโรค สำนักงานสามารถควบคุมและจัดการได้เองหรือว่าจ้างหน่วยงานเฉพาะมาดำเนินการแทน
5.5 การเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน
5.5.1 การอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟตามแผนที่กำหนด
1. มีการกำหนดแผนการฝึกอบรมและอพยพหนีไฟ
2. จำนวนคนเข้าอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้นจะต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40ของพนักงานทั้งหมด
3. พนักงานทุกคนจะต้องเข้าฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
4. มีการอบรมดับเพลิงขั้นต้นตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐานเช่น ใบรับรองการอบรม ภาพถ่าย เป็นต้น
5. มีการฝึกซ้อมอพยพตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐานเช่น ใบรับรอง ภาพถ่าย เป็นต้น
6. มีการจุดรวมพลที่สามารถรองรับได้ พร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน
7. มีการกำหนดเส้นทางหนีไฟ ธงนำทางหนีไฟ ไปยังจุดรวมพลพร้อมสื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติงาน
8. มีการกำหนดทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟ พร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน
5.5.2 มีแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสม และร้อยละของพนักงานที่เข้าใจแผนฉุกเฉิน (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)
5.5.3 ความเพียงพอและการพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย และระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และร้อยละของพนักงานทราบวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ดังกล่าว (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)
1. มีการติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง
ถังดับเพลิงมีเพียงพอต่อการใช้งาน (กำหนดระยะห่าง อย่างน้อย 20 เมตร/ถังตามกฎหมาย ติดตั้งสูงจากพื้นไม่เกิน 150 เซนติเมตรนับจากดคันบีบและถ้าเป็นวางกับพื้นที่จะต้องมีฐานรองรับ) พร้อมกับติดป้ายแสดง
ติดตั้งระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (ถ้ามี)
สายฉีดน้ำดับเพลิงและตู้เก็บสายฉีด (Hose and Hose Station) (ถ้ามี)
2. ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือนและต้องพร้อมใช้งาน
สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (พื้นที่มากกว่า 300 ตารางเมตรหรืออาคารสูงเกิน 2 ชั้นขึ้นไป)
ติดตั้งตัวดักจับควัน(smoke detector)หรือความร้อน(heat detector)
3. มีการตรวจสอบข้อ (1)-(2) และหากพบว่าชำรุดจะต้องดำเนินการแจ้งซ่อมและแก้ไข
4. พนักงานจะต้องเข้าใจถึงวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงและสัญญาณแจ้งเตือนอย่างน้อยร้อยละ 75 จากที่สุ่มสอบถาม

หมวดที่ 6 การจัดซื้อและจัดจ้าง

เกณฑ์การประเมิน
6.1 การจัดซื้อสินค้า
6.1.1 การจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
1. กำหนดผู้รับผิดชอบ และมีความเข้าใจ
2. ค้นหารายการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถระบุแหล่งข้อมูลสืบค้นได้
3. จัดทำบัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับสินค้าที่ใช้จริงในสำนักงาน โดยจะต้องระบุรายการสินค้า ยี่ห้อ ฉลากสิ่งแวดล้อม วันหมดอายุการรับรองของสินค้านั้น หากเป็นฉลากสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศจะต้องอ้างอิงหน่วยงาน/ประเทศให้การรับรองนั้น ๆด้วย
4. แจ้งไปยังผู้ขายเพื่อขอความร่วมมือในการสั่งซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกรณีที่ไม่มีร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าทีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
หมายเหตุ สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นสินค้าที่ได้รับการรับรองจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับเท่านั้น เช่น ฉลากเขียว ฉลากตะกร้าเขียวฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นท์ สินค้า OTOP ที่มีเลขจดทะเบียนฉลากสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ เป็นต้น
6.1.2 ร้อยละของการจัดซื้อสินค้าประเภทวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จำนวนทั้งสิ้น 9 รายการ อ้างอิงจากแผนส่งเสริมการจัดซื้อที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระยะที่ 3 พ.ศ. 2560 -2564 รวมทั้งสิ้น 9 รายการ (ขั้นต่ำ) ดังนี้
1. กระดาษถ่ายเอกสารหรืองานพิมพ์ทั่วไป
2. แฟ้มเอกสาร
3. ซองเอกสาร
4. ผลิตภัณฑ์ลบคำผิด
5. ตลับหมึก
6. เครื่องพิมพ์
7. เครื่องถ่ายเอกสาร
8. ปากกาไวท์บอร์ด
9. กระดาษชำระ
หมายเหตุ ร้อยละของสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะเทียบกับปริมาณการซื้อ และ/หรือมูลค่าสินค้า
6.1.3 ร้อยละของปริมาณและประเภทของวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหมายเหตุ สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นสินค้าที่ได้รับการรับรองจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับเท่านั้น เช่น ฉลากเขียว ฉลากตะกร้าเขียวฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นท์ สินค้า OTOP ที่มีเลขจดทะเบียน ฉลากสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ เป็นต้น
6.2 การจัดจ้าง
6.2.1 ร้อยละของการจัดจ้างหน่วยงานหรือบุคคลที่มีการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
1. มีหลักฐานการพิจารณาถึงมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานที่ได้การรับรองโดยจะต้องแสดงหลักฐานการรับรองดังกล่าว
2. หากหน่วยงานไม่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรอง ทางสำนักงานจะต้องทำการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมของหน่วยเบื้องต้น
3. มีการจัดทำสัญญาหรือข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมเมื่อเข้ามาปฏิบัติงานในสำนักงาน
4. หน่วยงานหรือบุคคลที่ได้รับคัดเลือกจะต้องได้รับการอบรมหรือสื่อสารเกี่ยวกับสำนักงานสีเขียว และแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของตนเอง
5. หน่วยงานหรือบุคคลเหล่านั้นสามารถอธิบายแนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของตนเองได้
หมายเหตุ
(1) หากหน่วยงานภายนอกมีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรองจะต้องพิจารณาทุกข้อยกเว้นข้อ (2)
(2) หากหน่วยงานภายนอกไม่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรองพิจารณาข้อ (2)-(5)
6.2.2 ร้อยละของการตรวจสอบด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือบุคคลที่เข้ามาดำเนินการ เช่น ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างช่วง แม่บ้าน รปภ.พนักงานส่งเอกสาร เป็นต้น
หมายเหตุ
(1) กรณีที่เป็นการว่าจ้างให้อยู่ประจำสำนักงานจะต้องทำการประเมินอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
(2) กรณีที่เป็นการว่าจ้างไม่อยู่ประจำสำนักงาน จะต้องทำการประเมินทุกครั้งเมื่อเข้ามาปฏิบัติงานในสำนักงาน
6.2.3 ร้อยละของการเลือกใช้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (นอกสำนักงาน)ได้แก่ โรงแรม สถานที่จัดงาน หรืออื่น ๆที่ได้มีการขึ้นทะเบียนการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
หมายเหตุ:
(1) สถานที่ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีเช่น ISO14001 Green Hotel ใบไม้เขียว ฉลากเขียว Green Officeหรือ Green Building เป็นต้น และมีการจัดการประชุมที่คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน และลดการก่อให้เกิดมลพิษ
(2) ในกรณีที่ไม่มีสถานที่จัดประชุมที่ได้รับการรับรองฯ อยู่ในบริเวณใกล้เคียงสำนักงานจะต้องเลือกสถานที่ที่ใช้เวลาเดินทางน้อยที่สุด และจัดประชุมในรูปแบบ Green Meeting(ตามความเหมาะสมและเป็นไปได้) โดยจะต้องแสดงหลักฐานการคัดเลือกสถานที่เหล่านั้น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า